ประวัติราชาลูกหนังข่าวฟุตบอลล่าสุด

ประวัติ บ็อบบี้ มัวร์ “ภูผาหินสิงโตคำราม”

ประวัติ บ็อบบี้ มัวร์

บ็อบบี้ มัวร์

บ็อบบี้ มัวร์ “ภูผาหินสิงโตคำราม”

รอเบิร์ต เฟรเดอริก เชลซี “บ็อบบี” มัวร์ โอบีอี (อังกฤษRobert Frederick Chelsea “Bobby” Moore; 12 เมษายน ค.ศ. 1941 – 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993) เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวอังกฤษ ผู้ทำหน้าที่กัปตันทีมเวสต์แฮมยูไนเต็ด มากกว่า 10 ปี และเป็นกัปตันทีมชาติอังกฤษ ในชุดชนะเลิศฟุตบอลโลก 1966 เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในกองหลังที่ดีที่สุดตลอดกาล และถูกกล่าวถึงโดยเปเล่ ว่าเป็นกองหลังที่ดีที่สุดตั้งแต่ที่ตนเองได้เล่นมา

บ็อบบี้ มัวร์ลงเล่นให้กับทีมชาติอังกฤษเป็นจำนวน 108 นัด ในช่วงเวลาที่เขาเลิกเล่นให้กับทีมชาติในปี ค.ศ. 1973 ถูกบันทึกเป็นสถิติ ซึ่งสถิตินี้ถูกทำลายในเวลาต่อมาโดย ปีเตอร์ ชิลตัน ผู้รักษาประตู เป็นจำนวน 125 นัด ซึ่งสถิติ 108 นัดยังคงดำเนินต่อเนื่องในฐานะนักเตะนอกกรอบ จนถึงวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2009 เมื่อเดวิด เบคแคม ลงเล่นในนัดที่ 109 มัวร์ได้รับการสถาปนาเข้าสู่ หอเกียรติยศฟุตบอลอังกฤษ ประจำปี ค.ศ. 2002 ในปีเดียวกัน เขาได้ถูกเสนอชื่อในรายชื่อของชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ

บ็อบบี้ มัวร์

เป็นอีกหนึ่งผลผลิตที่กลายมาเป็นตำนานของทีม “สิงโตคำราม” อังกฤษ ที่ได้ชื่อว่าเป็นกองหลังที่ดีที่สุดตลอดกาล “บ็อบบี้ มัวร์”

มัวร์ เริ่มต้นอาชีพค้าแข้งกับ “ขุนค้อน” เวสต์แฮม ยูไนเต็ด จากนั้นก็ได้เล่นเกมลีกสูงสุดตั้งแต่อายุ 17 ปีให้กับ เวสต์แฮมฯ

จากนั้นก็ข้ามขั้นขึ้นมาติทีมชาติอังกฤษก่อนประกาศตัวลุยศึกฟุตบอลโลกปี 1962 และสร้างความประทับใจได้แทบจะทันทีในเกมร่วมก๊วนเพื่อนๆไปเยือน ชิลี บ็อบบี้ ได้ลงเล่นทุเกม เป็นส่วนหนึ่งในการพาอังกฤษผ่านเข้าถึงรอบควอเตอร์ ไฟนัล เป็นที่มาของความขลังหมายเลข 6 จนถึงทุกวันนี้

ความเด็ดขาดในการเข้าบอลคู่แข่ง การอ่านเกมที่ทะลุปรุโปร่งของ มัวร์ ยังประกอบไปด้วยความนิ่งและแข็งแกร่ง การผ่านบอลที่แม่นราวจับวาง เติมเกมรุกได้ทุกเมื่อเมื่อทีมต้องการ

แม้ว่าจะเข้าบอลหนักไปบ้าง แต่มัวร์ ก็จัดเป็นนักเตะที่มีความเป็นสุภาพบุรุษ ในเกมการเล่นเป็นผู้นำอย่างแท้จริง ทำให้ไม่แปลกที่ได้รับมอบหมายให้สวมปลอกแขนกัปตันทีมชาติตั้งแต่อายุยังน้อย

90 จาก 108 แมตช์ ของเจ้าตัวทำสถิติได้เท่า บิลลี่ ไรท์ ที่ไม่โดนผู้ตัดสินเตือนเลย ความสำเร็จสูงสุดของ บ็อบบี้ คือการเป็นส่วนหนึ่งในการพาสิงโตคำราม คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกปี 1966

“สิงโตคำราม” ไม่เสียประตูเลยแม้แต่ประตูเดียวจนกระทั้งรอบ เซมิ ไฟนัล ที่เจอ “ไอ้เสือดำแห่งโมซัมบิก” ยูเซบิโอ เจาะตาข่ายจากลูกโทษที่จุดโทษ

อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ใช่จุดที่อังกฤษ และ มัวร์ จะต้องเสียใจเมื่อจบทัวร์นาเมนต์ บ๊อบบี้ ได้พาลูกทีมขึ้นรับโทรฟี่จากควีนอย่างสง่าผ่าเผยและสมควรเป็นอย่างยิ่งหลังชนะ เยอรมันตะวันตก อย่างน่าตื่นเต้นในการเล่นกันถึงช่วงต่อเวลาพิเศษ

ช่วงกลางยุค 60 คือช่วงเวลาทองของมัวร์ นอกจากคว้าแชมป์โลกกับชาติแล้ว ยังประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามกับ เวสต์แฮม ได้รับเลือกให้เป็นนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปี 1994 ของอังกฤษ,พา “ขุนค้อน” คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ จากนั้นก็แชมป์ ยูโรเปี้ยน คัพ วินเนอร์ส คัพ ในปีถัดมา ทว่า แชมป์เดียวที่มัวร์ไม่เคยสัมผัส คือแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศ

ปี 1970 อังกฤษเดินทางสู่ เม็กซิโก ป้องกันแชมป์โลก และเป็นอีกครั้งที่สรรพคุณของ บ็อบบี้ เป็นที่กล่าวขานในเกมกับ บราซิล เมื่อโชว์ฟอร์มแกร่งเกินจะต้านทาน แต่ทว่าโชคร้ายทีมพ่ายไป 0-1 ชนิดที่ มัวร์ ได้คะแนน 10/10

โดยสองสัปดาห์ก่อนหน้า มัวร์ โดนกล่าวหาว่าขโมยทอง และติดคุกอยู่ 4 วันเจ้าตัวไม่ได้รับการประกันว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกระทั่งการแข่งขันฟุตบอลโลกนัดชิงชนะเลิศผ่านไปแล้ว 1 สัปดาห์

แม้จะเจอเรื่องร้ายๆ บ็อบบี้ ก็ไม่เคยปล่อยให้มีผลต่อฟอร์มการเล่น อย่างไรก็ตาม งานนี้ เยอรมันตะวันตก แก้แค้นได้สำเร็จ หลังเคยน้ำตาตกที่เวมบลีย์ มาแล้ว ส่งอังกฤษตกรอบควอเตอร์ ไฟนัล และก้าวขึ้นคว้าแชมป์ในที่สุดในช่วงต่อวเลาเช่นกัน

เกมสุดท้ายของ มัวร์ ในสีเสื้อสิงโตคำราม คือเกมกับ อิตาลี ปี 1973 พ่ายไป 0-1 คาเวมบลีย์ จากนั้นก็ประกาศรีไทร์เมื่อปี 1976 โดย 3 ฤดูกาลสุดท้ายอยู่กับ ฟูแล่ม จากนั้นก็เดินทางไปอเมริกาเล่นใน เมเจอร์ลีก กับ ซีแอตเทิล เซาน์เดอร์ส แต่ไม่ประสบความสำเร็จนักในฐานะผู้จัดากรทีมที่ เซาเดอร์ส และ อ็อกซ์ฟอร์ด

ต่อมาในปี 1991 ก็ตรวจพบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็ง และอาการทรุดหนักจากนั้นเสียชีวิต 2 ปีถัดมาด้วยวัย 51 ปี ซึ่งหนึ่งในคู่ปรับตัวจริงแต่ตำแหน่งเดียวกันที่เป็นหนึ่งในกองหลังที่ดีที่สุดในโลกอย่าง ฟรานซ์ เบ็คเค่นเบาเอร์ กล่าวว่า “บ๊อบบี้ เป็นต้นแบบของผมจริงๆ ผมมองดูเขาเมื่อไรผมก็รู้สึกภูมิใจทุกทีที่ได้สู้กับเขา”

บ็อบบี้ มัวร์

บ็อบบี มัวร์ในปี ค.ศ. 1969
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม รอเบิร์ต เฟรเดอริก เชลซี มัวร์
วันเกิด 12 เมษายน ค.ศ. 1941
สถานที่เกิด บาร์กิง, เอสเซกซ์, ประเทศอังกฤษ
วันเสียชีวิต 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (51 ปี)
สถานที่เสียชีวิต พัตนีย์, ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ
ตำแหน่ง กองหลัง
สโมสรเยาวชน
1956–1958 เวสต์แฮมยูไนเต็ด
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1958–1974 เวสต์แฮมยูไนเต็ด 544 (24)
1974–1977 ฟูลัม 124 (1)
1976 → แซนแอนโทนีโอ ทันเดอร์ 24 (1)
1978 ซีแอตเทิล ซาวด์เดอส์ 7 (0)
1978 Herning Fremad 9 (0)
1983 Carolina Lightnin’ 8 (0)
รวม 716 (26)
ทีมชาติ
1962–1973 อังกฤษ 108 (2)
จัดการทีม
1980 ออกซฟอร์ดซิตี
1981–1982 อีสเทิร์น เอเอ
1984–1986 เซาต์เอนด์ยูไนเต็ด
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

มัวร์ลงเล่นให้กับทีมชาติอังกฤษเป็นจำนวน 108 นัด ในช่วงเวลาที่เขาเลิกเล่นให้กับทีมชาติในปี ค.ศ. 1973 ถูกบันทึกเป็นสถิติ ซึ่งสถิตินี้ถูกทำลายในเวลาต่อมาโดย ปีเตอร์ ชิลตัน ผู้รักษาประตู เป็นจำนวน 125 นัด ซึ่งสถิติ 108 นัดยังคงดำเนินต่อเนื่องในฐานะนักเตะนอกกรอบ จนถึงวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2009 เมื่อเดวิด เบคแคม ลงเล่นในนัดที่ 109 มัวร์ได้รับการสถาปนาเข้าสู่ หอเกียรติยศฟุตบอลอังกฤษ ประจำปี ค.ศ. 2002 ในปีเดียวกัน เขาได้ถูกเสนอชื่อในรายชื่อของชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ

ประตูในนามทีมชาติ

# วันที่ สนาม พบกับ ผล การแข่งขัน
1 5 มกราคม ค.ศ. 1966 กูดิสันพาร์กลิเวอร์พูล ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์ 1–1 กระชับมิตร
2 29 มิถุนายน ค.ศ. 1966 Ullevaal Stadionออสโล ธงชาตินอร์เวย์ นอร์เวย์ 6–1 กระชับมิตร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *